วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ศาสตร์ ยามอุบากอง

"สูญหนึ่ง อย่าพึ่งจร แม้นราญรอนจะอัปรา
สองสูญ เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
สี่สูญ พูลผล จรดลาภมากมี
ปลอดสูญ พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภไม่มี
กากะบาต ตัวอัปรี แม้จรลีจะอัปรา"

ยามอุบากอง เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า ยามพม่าแหกคุก เป็นตำราดูฤกษ์ยามเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่ากันว่า เป็นยามที่เอาไว้ดูวัน เวลา ที่เหมาะสำหรับ การเดินทางไปแสวงหาโชคลาภ การเดินทาง ไปพบปะติดต่อเจรจา ค้าขาย หรือเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง

"อุบากอง เป็นนายทหารยศขุนพล" ได้คุมกำลังเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ แต่อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ พระบาท- สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงสั่งให้สอบสวนอุบากอง ปรากฏว่าอุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย มีพ่อเชื้อสายพม่า แม่เชื้อสายไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทานเสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน) ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำ คุมขังที่คุกวัดโพธิ์ ได้สอนตำรายันต์ยามยาตราให้กับ พรรคพวก เพื่อใช้แหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกเรียนยามยาตราได้แล้ว พอได้ฤกษ์งามยามดี จึงสามารถพากันแหกคุก วัดโพธิ์ หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวกพากันหลบหนีไปยังเมืองพม่าได้บังเอิญมีนักโทษพม่า เชื้อสายไทยบางคน ไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ ต่อมาจึงมีการนำมาเล่าเรียนกัน และให้ชื่อยามยาตรา นี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง อนึ่ง ยามดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้นับถือว่า แม่นยำ ได้ผลจริงๆ ด้วย จึงศึกษาเล่าเรียนสืบๆ กัน มาตราบเท่าทุกวันนี้





          คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเชื่อในเรื่องของศาสตร์พยากรณ์เป็นเรื่องที่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัย อดีตกาล ในสมัยก่อนไม่ว่าจะประกอบกิจการอะไร หรือลงมือจะทำสิ่งใด ก็ต้องดูฤกษ์ดูยาม เพื่อให้กิจการต่าง ๆ นั้น ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี ราบรื่น และเจริญก้าวหน้า หรือแม้กระทั่งแต่เรื่องเล็ก ๆ เช่นการสวมใส่เสื้อในวันต่าง ๆ บางคนก็ต้องยึดสี สีไหนในวันนี้ดี หรือวันนี้สีไหนจะเป็นกาลกิณี เป็นต้น

          เฉกเช่นการดูฤกษ์ยามที่กระปุกดอทคอมนำมาเสนอในวันนี้ เป็นการดูฤกษ์ยามสมัยโบราณที่เรียกว่า "ยามอุบากอง" ซึ่งใช้ดูเมื่อตอนเวลาเดินทาง, จะออกรถ, พบลูกค้า, นำเสนองาน, เข้าพบเจ้านาย, หรือทำการสำคัญต่าง ๆ ถ้า หากยึดเวลาตาม "ยามอุบากอง" ก็จะทำสิ่งนั้น ๆ ได้สำเร็จ และได้ผลดีตามที่ตั้งใจเอาไว้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเราด้วย

ยามอุบากองคืออะไร

          ยามอุบากอง หรือ ยามพม่าแหกคุก คือ การดูฤกษ์ยามชนิดหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเชื่อกันว่า เป็นยามที่เอาไว้ดูวัน เวลา ที่เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ต่างยึดยามอุบากองในการใช้ชีวิตประจำวัน และเชื่อกันอย่างจริงจังเลยทีเดียว

วิธีดูยามอุบากอง มี 2 แบบ ดังนี้







แบบที่ 1 การดูยามอุบากอง "วัน+เวลา"

          แบบที่ 1 การดูยามอุบากอง "วัน+เวลา" ซึ่งตารางยามอุบากองชนิดนี้ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยจะมีรูปแบบคือ วันทั้ง 7 (จันทร์ - อาทิตย์) และแบ่งช่วงเวลาเป็นกลางวัน 5 ยาม กลางคืน 5 ยาม ดังนี้

          กลางวัน

           เช้า   06.01 น. ถึง 08.24 น.
           สาย  08.25 น. ถึง 10.48 น.
           เที่ยง 10.49 น. ถึง 13.12 น.
           บ่าย  13.13 น. ถึง 15. 36 น.
           เย็น   15.37 น. ถึง 18.00 น.     
    
           กลางคืน   

           ยามที่ 1     18.01 น. ถึง 20.24 น.
           ยามที่ 2     20.25 น. ถึง 22.48 น.
           ยามที่ 3     22.49 น. ถึง 01.12 น.
           ยามที่ 4     01.13 น. ถึง 03.36 น.
           ยามที่ 5    03.37 น. ถึง 06.00 น.

โดยมีความหมายตามตารางดังนี้

                ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร     แม้ราญรอนจะอัปรา
           สองศูนย์เร่งยาตรา          จะมีลาภสวัสดี
           ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์         ภัยพิบัติลาภบ่มี
           กากบาทตัวอัปรีย์            แม้จรลีจะอัปรา
           สี่ศูนย์จะพูนผล              แม้จรดลดีหนักหนา
           มีลาภล้นคณนา              เร่งยาตราจะมีชัย

          สำหรับการดูยามตามแบบที่ 1 (วัน+เวลา) อย่างแรกเลยต้องดูที่วันที่ก่อนว่าวันที่เราต้องการดูคือวันอะไร โดยจะนับวันใหม่ของวันเมื่อเวลา 06.00 น. ตามการดูวันแบบโบราณ ซึ่งตรงนี้ที่แตกต่างจากยามปัจจุบันตามสากลที่นับเวลาตามเที่ยงคืนของวัน จากนั้นก็เปรียบเทียบในตาราง เช่น...

          ต้องการเดินทางออกจากบ้านวันอังคาร เวลา 18.30 น. เมื่อดูตามตารางแล้ว จะตกอยู่ในช่อง กลางคืน มีวงกลมสองอัน นั้นหมายความว่า "สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี"  นั่นเอง



แบบที่ 2 การดูยามอุบากอง "ค่ำขึ้นแรม+เวลา"

          การดูยามแบบ ค่ำขึ้นแรม + เวลานั้น ก็คล้าย ๆ กับการดูแบบที่ 1 แต่จะต่างกันตรงคืนแรมจะมีตารางที่แตกต่างกันออกไป คือถ้าเป็นข้างขึ้นก็สามารถยึดตารางเดิมดูได้เลย แต่ถ้าเป็นข้างแรมต้องกลับเวลาจากเย็นไปเช้าดังนี้

แบบข้างขึ้น




          กลางวัน

           เช้า   06.01 น. ถึง 08.24 น.
           สาย  08.25 น. ถึง 10.48 น.
           เที่ยง 10.49 น. ถึง 13.12 น.
           บ่าย  13.13 น. ถึง 15. 36 น.
           เย็น   15.37 น. ถึง 18.00 น.     
    
           กลางคืน   

           ยามที่ 1     18.01 น. ถึง 20.24 น.
           ยามที่ 2     20.25 น. ถึง 22.48 น.
           ยามที่ 3     22.49 น. ถึง 01.12 น.
           ยามที่ 4     01.13 น. ถึง 03.36 น.
           ยามที่ 5    03.37 น. ถึง 06.00 น.

แบบข้างแรม



          กลางวัน

           เย็น    15.37 น. ถึง 18.00 น.
           บ่าย   13.13 น. ถึง 15. 36 น.
           เที่ยง  10.49 น. ถึง 13.12 น.
           สาย   08.25 น. ถึง 10.48 น.
           เช้า    06.01 น. ถึง 08.24 น.    
    
           กลางคืน   

           ยามที่ 5     03.37 น. ถึง 06.00 น.
           ยามที่ 4     01.13 น. ถึง 03.36 น.
           ยามที่ 3     22.49 น. ถึง 01.12 น.
           ยามที่ 2    20.25 น. ถึง 22.48 น.
           ยามที่ 1    18.01 น. ถึง 20.24 น.

          ส่วนการดูยามในแบบที่ 2 นี้ วิธีการดูก็เหมือนแบบที่ 1 ต้องการดูวันข้างขึ้น วันข้างแรม เวลาไหน แล้วก็ยึดดูคำทำนายตามตาราง เช่น วันนี้ เป็นข้างขึ้น วันอาทิตย์ ต้อออกไปเสนองานแก่ลูกค้าในเวลา 18.20 น. เมื่อดูตารางแล้ว จะตกอยู่ในช่องที่มีวงกลม 2 อัน  ซึ่งหมายความว่า "สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา"

         อย่างไรก็ตามนี่ การดูยามอุบากอง เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่มาแต่ช้านาน ยังไงก็ใช้วิจารณญาณในการอ่านนะคะ





อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น