วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มดาวฤกษ์ที่มี 27 กลุ่ม





http://files.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=1101763&stc=1&thumb=1&d=1282460428

ทั้งหมดนี้เรียกว่ากลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง27 กลุ่ม ซึ่งเป็นหลักที่เราจะนำมาคำนวนพลังของกลุ่มดาวฤกษ์ว่ามีอิทธิพลดีร้ายต่อดวง ชาตาอย่างไร ที่นี้ก็มาดูว่ากลุ่มดาวฤกษ์ที่มี 27 กลุ่มนั้นก็ได้ถูกแบ่งย่อยตามอิทธิพลของดวงดาวออกมาเป็น 3 กลุ่มใหญ่กลุ่มละ 9 ดาวฤกษ์แต่มี 9 ชนิดหรือลักษณะ(อิทธิพล) ที่เราเรียกว่าฤกษ์จริงๆก็คือตรงนี้ โดยอิทธิพลของกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 9 ชนิดนั้นก็มีชื่อเรียกและความหมายดังนี้

  1. ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ ขอทาน คนมักน้อย คนใจดีมีเมตตา
  2. มหัทธโณฤกษ์ แปลว่า คนมีทรัพย์ เศรษฐี
  3. โจโรฤกษ์ แปลว่าโจร ขโมย การต้อสู้แย่งชิง
  4. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน
  5. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า สามแผ่นดิน คนต่างถิ่น หญิงแพศยา (เวสิโย)
  6. เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา งามสง่า มีเสน่ห์ ราชินี
  7. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ฆ่า เพชฌฆาต
  8. ราชาฤกษ์ แปลว่า พระราชา ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
  9. สมโณฤกษ์ แปลว่า ผู้รักสงบ นักพรต นักบวช ฤาษี
เมื่อ รู้คำแปลแล้วก็อย่าตกใจ เพราะนั่นเป็นเพียงชื่อเรียกขานเท่านั้น ฤกษ์บางฤกษ์ก็มีความเหมาะสมกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ชื่อฤกษ์ก็เพียงชื่อ เช่นเพชฌฆาตฤกษ์ก็เหมาะสำหรับการปลุกเสก อาคมของขลัง ตัดลูกนิมิต ผูกพัทธสีมา ฯลฯ ไม่ใช่เอาไว้ไปฆ่าใคร เพราะเพฆฌฆาตจริงๆแล้วแปลว่า”ผู้ตัด” อาจจะจะไปตัดอะไรก็ได้จะไปตัดหัวคนหรือตัดกิเลสก็ได้ทั้งนั้น

ภาพ-โปรแกรมโหราศาสตร์ (ปุโรหิต)

ส่วน เทศาตรี แปลว่าหญิงแพศยาก็เหมาะสำหรับเปิดร้านค้า ขายอาหารของกินของใช้ โรงมหสพ ให้คนเข้าไปใช้บริการมากๆแบบไม่เลือกชั้นวรรรณะ ยากดีมีจน คนชั่วคนดี เข้าไปได้หมด เปรียบเหมือนหญิงแพศยาที่คบกับใครไม่เลือกหน้า อะไรประมาณนั้น

อย่าง ไรก็ตามทางโหรก็มีกฏเกณฑ์ที่พอจะบอกได้ว่า ฤกษ์ทั้ง 9 ชนิดนี้ ฤกษ์ไหนดีฤกษ์ไหนชั่วเป็นเบื้องต้นก่อน (คำว่า”ฤกษ์ชั่ว”เป็นภาษาโหรนะครับแปลว่าไม่ดี) โดยกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มนี้ก็ได้ถูกจักรราศีทั้ง 12 ราศีครอบทับอีกที โดยจักรราศีมีลักษณะเป็นวงกลม มี 360 องศา และในจักรราศีก็มี 12 ราศี ๆละ 30องศา โดยมีหลักการคำนวน ดังนี้
12 ราศี = 360 องศา
1 ราศี = 30 องศา
1 องศา = 60 ลิปดา
1 ลิปดา = 60 ฟิลิปดา
ส่วน 27 กลุ่มดาวฤกษ์มีระยะหรือาณาเขตคาบเกี่ยวกันกับอาณาเขตของราศี มีหลักการคำนวนดังนี้
27 ฤกษ์ = 360 องศา
หรือ 1 ฤกษ์ = 360/27 = 40/3 องศา
= 40x60/3 ลิปดา = 800 ลิปดา
เพื่อเป็นการสะดวกในการคำนวนระหว่างตัว ร่วมของเขตของราศีกับขอบ เขตของ กลุ่มดาวฤกษ์ในจักราศี ก็เลยมีการค้นคิด นว-อัมศะ (แปลว่า 9 ส่วน) หรือเรียกว่า”นวางศ์”มาประกอบ โดยในจักราศีทั้ง 360 องศานี้แบ่งเป็น 108 นวางค์
ฉะนั้น 1 นวางค์ = 30/9 องศา = 30x60/9 ลิปดา = 200 ลิปดา
1 ราศี = 9 นวางค์
1 ฤกษ์ = 4 นวางค์
เมื่อเรารู้แล้วว่าใน1ราศีมี 30 องศา และมี 9 นวางศ์ เราเรียกชื่อตามลำดับว่า ปฐมนวางศ, ทุติยนวางศ, ตติยนวางศ, จตุตถนวางศ, ปัญจมนวางศ, ฉัฏฐมนวางศ, สัตตมนวางศ, อัฏฐมนวางศ และ นวมนวางศตามลำดับจริงๆก็แปลว่า นวางศลูกที่ 1,2,3-9
และก็มีการแบ่ง1ราศีออกเป็นสามส่วนละ 10 องศาเรียกว่าตรียางค์ โดยรวมเอาทุกๆ 3 นวางค์ เป็น 1 ตรียางค์ และได้มีการกำหนดชื่อเรียกแต่ละ ตรียางค์ภายในราศีว่า ปฐมตรียางค์, ทุติยตรียางค์, ตติยตรียางค์ตามลำดับ
ส่วนฤกษ์ทั้ง 27 ดาวฤกษ์ ก็แบ่งส่วนเป็น 1 ฤกษ์ ซึ่งมี 4 นวางค์ ได้มีการกำหนดชื่อเรียกแต่ละ นวางค์ภายในฤกษ์ ว่า ปฐมบาท, ทุติยบาท, ตติยบาท และ จตุตถบาท ตามลำดับ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น