วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

พิธียกเสาเอกบ้าน

 วิธียกเสาเอก
          เมื่อ ตระเตรียมไม้และผู้คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการทำพิธียกเสาเอก คือ เสาต้นด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เจ้าของบ้านจะต้องจัดเตรียมเครื่องบูชาเสา ดังต่อไปนี้

 
เครื่องบูชาเสา
          เมื่อ ขุดหลุม จะตั้งเสา ท่านให้เอา ใบตอง ๕ ใบ ใบราชพฤกษ์ ๕ ใบ ต้นกล้วย ๑ และเอาแต่ใบ ๓ ใบ ต้นอ้อย ๑ ต้น เอาผูกกับปลายเสาให้แน่น แล้วเอาข้าว ๔ กระทง เทียน ๘ เล่ม บายศรี ๑ สำรับบูชาเสา แล้วยกเสาแรกลงหลุมให้ตรง ถ้าหากเอนไปทางทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ก็ยังนับว่าดี
          ใน วันที่จะยกเสา ให้เอาเสามาวางเรียงกัน จัดเครื่องบัตรพลีมา เซ่นไหว้พระภูมิเจ้าที่ แม่นางพระธรณี หาท่านผู้รู้มาทำน้ำมนต์ประพรมเสาและพื้นที่ จะมีการสวดมนต์เย็นด้วยก็ได้ ครั้นแล้ว ให้คนขุดหลุม ยกเสาวางบนขาหย่าง แล้งเอาหน่อกล้วยหน่ออ้อย (เครื่องผูกเสา) ผูกไว้กับเสาให้แน่น เจิมด้วยมูลโคประสมดินสอพองทาคอรอดรอบ
          ครั้น วันยกเสา มีพิธีทำขวัญเสา ให้เอาพวงเงินพวงทองคล้องปลายเสา เสาเอก (หรือเรียกว่าเสาขวัญ) ประดับประดาเป็นพิเศษ หุ้มห่อผ้าดีกว่าเสาอื่นๆ จุดเทียนชัยติดไว้ทุกต้น พร้อมทั้งจัดตั้งหม้อน้ำมนต์ แป้งน้ำหอม ครั้นแล้วยกบายศรีออกมาจัดตั้งทำขวัญเสาต่อไป
          เมื่อ ใกล้จะได้ฤกษ์ เจิมเสา ประพรมน้ำมนต์แล้วเอายันต์ปิดหัวเสา ช่วยกันประคองเสาเอาไว้ พอได้ฤกษ์ผู้เป็นประธานก็ลั่นฆ้อง ผู้ที่อยู่ในมณฑลนั้นพร้อมกันโห่ขึ้นสามลา ยกเสาเอกลงหลุม ตั้งให้ตรง
          ต่อแต่นั้นจึงยกเสาโทต่อไป ข้อสำคัญ เสาเอกนั้นต้องยกลงหลุมให้ตรงกับฤกษ์เวลา


               ในสมัยก่อนหากใครจะสร้างบ้านนั้นสิ่งที่จะละเลยเป็นมิได้เลยก็คือพิธีการยกเสาเอกของบ้าน ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ยังคงนิยมใช้วิธีนี้เมื่อมีการก่อสร้างก่อสร้างอาคาร สำนักงานและอื่นๆ อีกมากมาย โดยพิธีการยกเสาเอกมีวิธีการเตรียวการดังนี้

ของใช้ในพิธี
- จัดโต๊ะหมู่บูชา ๑ ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)
- จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ ๑ ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)
- เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)
- ใบทอง นาก เงิน อย่างละ ๓ ใบ
- เหรียญทอง เงิน อย่างละ ๙ เหรียญ
- ทรายเสก ๑ ขัน
- น้ำมนต์ ๑ ขัน (พร้อมกำหญ้าคา ๑ กำ)
- ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วนเล็ก
- ทองคำเปลว ๓ แผ่น
- ผ้าแพรสีแดง ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า ๑ ผืน  - หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ ๑ หน่อ
- ไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้าประสงค์)
- แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ ๑ แผ่น
- ข้าวตอกดอกไม้ ๑ ขัน

ลำดับพิธี
- วางสายสิญจน์ เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวาบริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร) เจ้าภาพ - จุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคล กราบพระ
- จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย บูชาเทวดาให้คุ้มครอง
พิธีกร - กล่าวสังเวยเทวดา
เจ้าภาพ - ดอกไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้ามี)
- วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก (ถ้ามี)
- นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ โปรยทรายเสกที่
หลุมเสา
- เจิมและปิดทองเสาเอก
- ผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก
- ถือด้ายสายสิญจน์ พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี
ช่าง - ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) (ถ้ามี)
เจ้าภาพ - โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี เสร็จพิธี

หมายเหตุ - ถ้ายกเสาเอกในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน

- ถ้ายกเสาเอกในเดือน ๔ - ๕ - ๖ เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์
- ถ้ายกเสาเอกในเดือน ๗ - ๘ - ๙ เสาเอก อยู่ทิศหรดี
- ถ้ายกเสาเอกในเดือน ๑๐ - ๑๑ - ๑๒ เสาเอก อยู่ทิศพายัพ
- เมื่อธูปที่โต๊ะสังเวยไหม้หมดดอก ให้ลาเครื่องสังเวยได้ว่า "เสสัง มังคะลัง ยาจามิ"
- หน่อกล้วย อ้อย เมื่อช่างเอาลงจากเสาแล้ว ให้นำไปปลูกไว้ในที่ต้องการ เพื่อเสี่ยงทายว่าจะงอกงามเพียงใด
- ถ้าจัดโต๊ะสังเวยไม่ได้ จะจัดเป็นสำรับบูชาพระภูมิเจ้าที่ธรรมดาก็ได้ และสิ่งประกอบอื่น ๆ ก็เลือกเอาเท่าที่จำเป็นและหาได้ง่าย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น