วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กฏเกณฑ์ของโหรว่าด้วยเรื่องฤกษ์


ว่ากันมายาวที่นี้ลองมาดูกฏเกณฑ์ของโหรว่าด้วยเรื่องฤกษ์กันบ้าง หลักใหญ่มีดังนี้

1.ห้ามวันที่พระเคราะห์ดับ หรือวันที่ดาวเคาระห์ทำมุม 0 องศากับดาวอาทิตย์ หากให้ฤกษ์ยามในวันแบบนี้เรียกว่าความวิบัติ จะเกิดขึ้นไม่เกิน 1เดือนหลักจากเริ่มทำการ ซึ่งพึงสังวรระวังกันให้มากๆ สำหรับนักโหราศาสตร์ทั้งหลาย

2.ห้ามวันพระเคาระห์เพ็ญ คือห้ามมีดาวดวงใดดวงหนึ่งในดวงฤกษ์ ทำมุม 180 องศากับดาวอาทิตย์ นัยว่าจะเกิดเหตุขัดแย้งกันรุนแรงถึงขั้นแตกหักกันเลยก็ว่าได้ ส่วนจะเกิดเรื่องอะไรนั้นก็ดูว่า ดาวดวงนั้นเป็นดาวอะไรอยู่ภพอะไร มีความหมายว่าอย่างไร

3.ห้ามวันพระเคาระห์ใหญ่ทำมุม จตุโกณแก่กัน พระเคาระห์ใหญ่ๆก็เช่นว่า ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ อังคาร ราหู

4.ลัคนาในดวงฤกษ์จะต้องไม่เป็นทุสถานะแก่เจ้าการ เช่นว่าไม่เป็น 6 เป็น 8 เป็น 12 บางครั้งแม้แต่จันทร์ในดวงฤกษ์ก็ไม่ควร

5.อย่าให้มีดาวเคาระห์สถิตย์อยุ่ทุสถานะภพในดวงฤกษ์ ข้อนี้ก้อาจจะยากสักหน่อย แต่อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะปรุงดาวเคาระห์ให้อยู่ใน กฏเกณฑ์ที่พอจะช่วยเหลือได้ เช่น เอาดาวบาปเคาระห์ไปอยู่ในเรือนอุปจัยแทน เช่น เรือนที่ 3 เรือนที่ 6 เรื่อนที่ 10 และ 11

6.อย่าให้ลัคนาลอย จะต้องมีดาวกุมลัคนาในดวงฤกษ์ด้วยเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง

7. การวางลัคนาควรให้เกาะนวางค์บาทที่เป็นราศีธาตุเดียวกัน เช่นลัคนาราศีธาตุไฟเช่นราศี เมษ สิงห์ ธนู ให้วางที่นวางค์อาทิตย์ (นวางศ์ที่ 5)

8.ห้ามวางลัคนาเกาะบาท”ฉินทฤกษ์” ก็คือ นวางค์แรกของราศีธาตุน้ำคือ ราศีกรกฏ พิจิก มีน และนวางค์สุดท้ายของราศีธาตุไฟ ซึ่งก็คือราศี เมษ สิงห์ ธนู อันนี้รวมความถึง “ภินทฤกษ์”ด้วย ซึ่งเป็นนวางค์บาทฤกษ์ที่ไม่บริบูรณ์ มีอดีตและอนาคตของบาทฤกษ์เกาะไปข้ามเกี่ยวของขอบเขตของราศีถัดไป นวางบาทฤกษ์เช่นนี้ไม่เป็นบูรณฤกษ์ หากไปทำการใดใดเข้า ผลร้ายและวิบัติต่างๆจะตามมามากมาย

9.ปรับใช้ ธรรมเนียมเก่า เช่น ดิถีต่างๆ จักขุมายา และกาลโยคประจำปีด้วย เนื่องจากโบราณที่ใช้มาแต่เดิม หากจะใช้แต่ขัดกับกาลโยคของชาวบ้าน ก็มักจะมีเหตุให้คนครหาเอาได้
จริงแล้วกฏเกณฑ์มีมากกว่านี้นับสิบๆข้อ แต่ก็อธิบายพอเป็นสังเขปเท่านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น